บทความ

การแคปหน้าจอ (screenshot) คอมฯ Windows 10 อย่างไร

รูปภาพ
ปัจจุบันเราต่างเชี่ยวชาญการ "แคปหน้าจอ" ผ่านโทรศัพท์มือถือกันเป็นส่วนใหญ่ (แคป มาจากคำว่า capture) แต่กลับหาวิธีการแคปหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว save เก็บไว้บนเครื่องไม่ได้ (ระบบก็ไม่ทำให้ง่ายเองนี่นา) มาครับ เดี๋ยวครูโจโจ้จะบอกวิธีให้ฟัง ขอพูดถึงเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows 10 นะครับ  การแคปหน้าจอ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า take a screenshot) ระบบ Windows 10 มีหลายรูปแบบและใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้ กด  PrtSc ซึ่งเป็นปุ่มที่อยู่ด้านบนสุดทางด้านขวา บางครั้งรุ่นอาจจะเขียนเป็น PrtSc SysRq หรือ PrtScn หรือที่เขียนคล้ายกัน โดยปุ่มนี้ถ้ากดแล้วจะแคปทั้งหน้าจอ (entire screen) แลก็อปปี้เก็บไว้ในคลิปบอร์ดอัตโนมัติ (แต่ไม่ได้เซฟไว้ในเครื่อง) การวางรูปภาพที่แคปมาใช้ด้วยการกด Ctrl + V ลงในโปรแกรมต่างๆ เช่น Microsoft Word, PowerPoint, Docs, Slides หรือ comment บท Facebook เป็นต้น เนื่องจากการใช้ Prtsc แคปเพื่อก๊อปปี้ได้ครั้งละรูปเท่านั้น หมายความว่าถ้าเรากด PrtSc แล้วต้องใช้เลย ถ้ากดใหม่ก็จะแคปหน้าจอใหม่เก็บไว้แทนอันก่อนหน้านี้ ย้ำว่าไม่สามารถเซฟไว้ในเครื่องได้ กด  Alt + PrtSc ทั้ง 2 ปุ่มพร้อมกัน...

Update! Google Meet 2021 บางสิ่งที่เพิ่มเข้ามา และบางสิ่งที่หายไป

รูปภาพ
จากคลิป "แนะนำการใช้งาน Google Classroom ในภาพรวม" https://youtu.be/MHDhp-F8fvM ที่ครูโจโจ้ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้  กาลเวลาผ่านไป Google ได้ปรับปรุงและปรับเปลี่ยน Meet  เฉพาะ G Suite for Education (เวอร์ชั่นฟรี)  ไปหลายอย่าง มี features ใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา และ บาง features ที่หายไป สำหรับ G Suite for Education อะไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ   สิ่งที่เพิ่มเข้ามา Change background การเปลี่ยนพื้นหลัง ซึ่งถ้าใครเคยใช้ ZOOM ก็จะเข้าใจดี เป็นลูกเล่นที่เป็นจุดเด่นเลยทีเดียว ตอนนี้ Meet ก็มีแล้ว เพียงแต่ว่าสามารถเลือกตามที่ระบบมีให้เท่านั้น ไม่สามารถเพิ่มภาพส่วนตัวลงไป ถ้าไม่ชอบรูปภาพก็มีโหมดให้เลือกเบลอพื้นหลังของเรา จะเบลอมาก เบลอน้อย ก็แล้วแต่ใจชอบ  Raise hand การยกมือถาม ซึ่งเป็นปุ่มที่เพิ่มเข้ามา ในกรณีที่ครูสอนอยู่ เกิดความสงสัย หรือ ครูอาจจะพูดเร็วเกินไป ก็กดปุ่มยกมือขึ้นมา สำหรับหน้าจอผู้สอนก็จะมี pop-up ปรากฏขึ้นมา แจ้งว่านักเรียนคนนี้ยกมือขึ้น  เป็นการสร้างบรรยากาศที่คล้ายกับห้องเรียนจริงๆ  Cast this meeting คือการแคสหน้าจอไปยังสมาร์ททีวิหรือโปรเจค...

Diary Dairy Daily ต่างคำต่างความหมายและออกเสียงต่างกัน

รูปภาพ
จากบทความเรื่อง Mood Tracker ทำเองง่ายๆ สำหรับปี 2021 มีคำหนึ่งที่ครูโจโจ้พูดถึงคือ ไดอารี่ ทีนี้ทำให้ครูโจโจ้นึกขึ้นได้ว่า คำนี้หลายคนสับสนว่าภาษาอังกฤษเขียนยังไงกันแน่ระหว่าง Diary, Dairy หรือ Daily กันแน่ บอกก่อนเลยว่าทั้ง 3 คำนี้ ความหมายต่างกัน และ ออกเสียงก็ต่างกัน ด้วย มีอะไรบ้าง ไปดูทีละคำกันเลยครับ Diary (n.)  ประกอบด้วย 3 พยางค์  di-a-ry   ออกเสียเป็น ได - เออะ - รี  คำนี้เราใช้เลียนเสียงทับศัพท์ก็คือ ไดอารี่ นั่นเอง โดยคำว่า diary นั้นมีที่มาจากภาษาละติน คือ diarium = journal หรือบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน ซึ่ง di(es) = day นั่นเองครับ  Dairy (adj.) (n.) ประกอบด้วย 2 พยางค์ dair-y ออกเสียงเป็น แดร์ - รี่ คำนี้ให้นึกถึงไอศครีมที่ขายตามห้างสรรพสินค้านะครับ คือ Dairy Queen ออกเสียว่า แด-รี่-ควีน ซึ่งคำว่า dairy ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ (adj.) = เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากนม ถ้าเป็นคำนาม (n.) = โรงรีดนม ครับ ที่ให้นึกถึง Dairy Queen เพราะไอศครีมนั้นทำมาจากนมครับ  Daily (adv) (adj)  ประกอบด้วย 2 พยางค์ dai-ly ออกเสียงเป็น เด - ลี่ คำนี้ให้นึกถึงหนังสือพิมพ์...

แน่ใจแล้วหรือว่าการด่าผู้ที่ติดเชื้อจะเกิดผลดี?

รูปภาพ
Photo by cottonbro from Pexels ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID 19 ก็ปรากฏจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน สำหรับพื้นที่สีแดงนั้นขึ้นถึงหลักร้อยต่อวันเลยทีเดียว แต่จังหวัดที่ยังไม่เป็นพื้นที่สีแดงนั้นพบประมาณไม่กี่คน พอปรากฏหนึ่งคนก็เป็นเรื่องใหญ่ในวงกว้าง สร้างความหวาดผวาและความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก จนทำให้เราหลายคนขาดสติ เมื่อทางกระทรวงสาธารณสุขรายงาน timeline ของผู้ที่ติดเชื้อ เราก็จะเห็นคอมเมนต์ของประชาชนที่ด่าทอด้วยถ้อยคำที่ดุเดือด เช่น เห็นแก่ตัวบ้างล่ะ ง่าว(โง่)บ้างล่ะ  โอเค สำหรับเคสแรกๆ ที่มีคนลักลอบหนีออกมาจากชายแดนแล้วไม่กักตัว อันนี้สมควรโดนด่า กับอีกกรณีที่มีอาการป่วยแล้วแอบรักษาด้วยตัวเองทั้งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง แล้วยังไปไหนต่อไหนอีก ไม่ยอมหาหมอ จนอาการมันหนักขึ้นจึงยอมรับสารภาพ แต่ก็โกหกพัลวัน ปกปิด timeline ตัวเอง อันนี้ก็เห็นชอบว่าสมควรโดนด่า แต่ในกรณีหลังๆ คือ เขาใช้ชีวิตตามปรกติเพราะไม่ได้อยู่พื้นที่สีแดง ก็ใช้ชีวิตแบบเราๆ ไปนั่นโน่นนี่ อาการก็ยังไม่ปรากฏ เมื่อเขาเป็นไ้ข้ไม่สบาย เขาเกิดความสงสัยในตัวเอง เขาก็ไปหาหมอทันที พอผลออกมาเป...

Mood Tracker ทำเองง่ายๆ สำหรับปี 2021ด้วย Google Sheets

รูปภาพ
สวัสดีครับปีใหม่ครับทุกท่าน ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ในเรื่องของ New Year's Resolution นะครับ สำหรับบทความนี้ครูโจโจ้จะมาพูดถึงเรื่อง Mood Tracker นะครับ อีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เรารู้จักตนเองมากขึ้นครับ Mood Tracking คือ การจดบันทึกอารมณ์ตนเอง เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของเรา เพื่อที่ระบุอารมณ์ที่เด่นชัดในแต่ละวัน ซึ่งคล้ายกับเขียนไดอารี่ (diary) ก่อนนอน แต่สัญลักษณ์แทนการเขียนบรรยาย โดยเครื่องบันทึกอารมณ์มีชื่อเรียกว่า Mood Tracker  หรือ Mood Chart ซึ่งใช้สีแทนอารมณ์ในแต่ละวัน เราสามารถออกแบบเองได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเขียนลงกระดาษ หรือ สร้างใน Google Sheets หรือ Excel ก็สามารถทำได้ ดังตัวอย่าง http://www.mood-chart.com/ สำหรับครูโจโจ้แล้วสร้าง Mood Tracker โดยใช้ Google Sheets ครับ เพราะว่าเข้าถือในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และ คอมพิวเตอร์ ได้ง่ายๆ นอกจากนั้นเราก็สามารถสร้าง shortcut ไว้หน้าจอมือถือให้เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ (ระบบ Android) ครับ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ 1. เข้าไปที่ Google Sheets App ในมือถือของท่าน (ต้องติดตั้งก่อนนะครับ) 2. เมื่อเจอ She...

New Years Resolution คืออะไร? แล้วทำไมเราควรทำ

รูปภาพ
Photo by Tim Mossholder on Unsplash New Year's Resolution คืออะไร?   คำว่า resolution (n.) = การตัดสินใจที่จะมุ่งมั่นทำสิ่งนั้นให้ได้ (แต่ถ้านำไปใช้ในวงการดนตรี, วิทยาศาสตร์, ภาพ จะหมายถึง การแยกออกจากกัน เช่น  photo resolution) ดังนั้น New Year's Resolution(s) ก็คือสิ่งที่เรามุ่งมั่นจะทำในปีใหม่นี้นั่นเองครับ ซึ่ง New Year's resolution เป็นสิ่งชาวต่างชาติฝั่งตะวันตกนิยมปฏิบัติ ก็เหมือนกับการให้สัญญากับตัวเอง เพื่อตัวเราเอง ว่าปีใหม่นี้เราจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมเสริมสิ่งใดสำหรับชีวิตของเราให้ดีขึ้น โดยมักจะเขียนเป็นข้อๆ ลงบนกระดาษหรือหน้าแรกของสมุดไดอารี่ บางคนก็เขียนลง Post-It แล้วแปะบนฝาผนัง เพื่อช่วยให้เห็นเด่นชัดขึ้น และยำ้เตือนกับตัวเอง ซึ่งการเขียนนั้นมักจะเขียนกันก่อนสิ้นปี เพื่อปีใหม่จะได้เริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิตนั่นเอง  การเขียนหัวข้อที่เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองก็จะเป็นหัวข้อที่เราสามารถทำได้เฉพาะภายใน 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นการเขียน New Year's resolution ต้องเขียนเป็นหัวข้อที่กระชับ ชัดเจน และจำนวนไม่มากจนเกินความสามารถของตนเอง หากเราค่อยๆ ทำได้ทีล...

รีวิวชีวิตปี 2020 ของครูโจโจ้

รูปภาพ
รีวิวปี 2020 ที่ผ่านไป เป็นปีแห่ง "จุดเปลี่ยน" ที่สำคัญ  แม้แต่ตัวเองก็ไม่คาดคิด ดั่งกับเพลง "Live & Learn" ของ กมลา ศุโกศล แต่ก็เพราะเป็นคนที่ "ชอบเสี่ยง" และ "ชอบท้าทาย"  มันเป็นการติดสินใจที่ "ถูก" หรือ "ผิด"  ซักวันก็จะได้คำตอบ ถ้าเราเลือกที่จะไม่เสี่ยงและปฏิเสธความท้าทาย จะถูกหรือผิดนั้น เราไม่มีทางรู้คำตอบเลย  ผมขอใช้พื้นที่นี้แชร์ข้อพระคัมภีร์ที่ทำให้ผมตัดสินใจ  จนนำไปสู่จุดเปลี่ยนของชีวิตในครั้งนี้นะครับ 1 โครินทร์ 2:9-11 -- ดังที่มีเขียนไว้แล้วว่า `สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และไม่เคยได้เข้าไปในใจมนุษย์ คือสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนที่รักพระองค์' พระเจ้าได้ทรงสำแดงสิ่งเหล่านั้นแก่เราทางพระวิญญาณของพระองค์ เพราะว่าพระวิญญาณทรงหยั่งรู้ทุกสิ่ง แม้เป็นความล้ำลึกของพระเจ้า อันความคิดของมนุษย์นั้นไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้ เว้นแต่จิตวิญญาณของมนุษย์ผู้นั้นเองฉันใด พระดำริของพระเจ้าก็ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ เว้นแต่พระวิญญาณของพระเจ้าฉันนั้น"  เยเรมีย์ 29:11 -- พระยาห์เวห์ตรัสว่า เพราะเรารู้แผนงานที่เร...