บทความ

#นักศึกษาสะพายย่าม

รูปภาพ
การที่ผมเป็น # นักศึกษาสะพายย่าม นั้นเป็นการลดความโอหังของคำว่า "นักศึกษามหาลัยชั้นนำ" ลงไป  ลดความจองหองที่ว่า "ฉันเรียนเอกภาษาอังกฤษ" ลงไป พูดง่ายๆ คือลด "ego" ของตัวเองลงไป  เพราะ # ฉันรักความเท่าเทียมกัน หลายๆ คนมักจะเข้าใจว่าผมเรียนเอกอื่นๆ เพราะผมไม่ได้ทำตัวหรูหรา ผมเริ่มต้นความเป็นนักศึกษาด้วยการ "ติดดิน" เช่น เดินไปเรียนหนังสือ จากหลัง ม. ไปหน้า ม. เหนื่อยแต่คุ้มที่ได้มองธรรมชาติไปรอบๆ (เพราะรถม่วงเต็มอยู่บ่อยๆ จึงเลือกที่จะเดินสะดวกกว่า ไม่ต้องรอ) อยู่หอพักนักศึกษา สภาพโทรมๆ เก่าๆ แต่อบอุ่น เต็มไปด้วยมิตรภาพ (และเรื่องผี) โน๊ตบุ๊คไม่มี เพราะมหาลัยมีคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ลิขสิทธิ์บริการที่ดีอยู่แล้ว ทำงาน ช่วยเหลือบุคลลากรในคณะ ได้ชั่วโมงละ 25 บาท เป็นการหาเงินก้อนน้อยๆ ครั้งแรกในชีวิต ออกค่าย เพราะไปเรียนรู้ทักษะความอดทน ในยามยากลำบาก  นอกจาก "ติดดิน" แล้วยัง "อู้กำเมืองแหลวเล๊ด" อีกต่างหาก ผมจึงมีเพื่อนจากหลายๆ สาขา ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มเพื่อนเมเจอร์ เพื่อนโรงเรียน หรือว่าเพื่อนจ...

Happy New Year 2014 !!!

รูปภาพ
      Wish you have a good time, good heath,  good friends,  good love and good luck.              Your new and better life is up to your own design and decision. From Ongkarn Chomvisarutkul (Kru JOJO) ******************************** The abbreviation of ส.ค.ส is "ส่งความสุข" which means "sending the happiness".  We always write the words on the New Year Card.

Every day กับ Everyday ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
ความแตกต่างระหว่าง  Every day กับ  Everyday "I read the newspaper  every day ,  but it mostly filled with  everyday  stories." ทั้งสองคำนี้ ดูผิวเผินอาจจะคิดว่าเหมือนกัน จริงๆ แล้วมีความหมาย และ การใช้ที่แตกต่างกัน Every day แบ่งเป็นคำ 2 คำ คือ         every ที่เป็น adjective ขยาย noun ก็คือ  day นั่นเอง        อย่างไรก็ดี  every day   นั้นเป็น Adverb of Frequency          เพื่อบอกความถี่หรือความบ่อย  จึงหมายความว่า  ทุกๆ วัน   (ของแต่ละวัน;  each day ) ถ้าหากต้องการตรวจสอบว่าใช้ถูกหรือไม่ ให้เราใช้คำว่า each day แทน every day ก็จะมีความหมายที่คล้ายกัน ดังตัวอย่าง I read books every day .     =   I read books each day . ฉันอ่านหนังสือ ทุกๆ วัน                                                   ...

Congratulation VS Congratulations ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
คำว่า Congratulation กับ Congratulations แตกต่างกันอย่างไร ช่างสับสนกันเหลือเกินครับ บ้างก็ว่าเติม -s บ้างก็บอกไม่เติมก็ได้ ???  ทีนี้เรามาดูความหมายของคำทั้ง 2 คร่าวๆ ดังนี้นะครับ  Congratulation (n.) The act of expressing joy or acknowledgment, as for the achievement or good fortune of another. An expression of such joy or acknowledgment. Often used in the plural. (From  http://www.thefreedictionary.com ) Congratulations (pl. n.) expressions of pleasure or joy; felicitations (From  http://www.thefreedictionary.com ) used when you want to congratulate somebody (From Besta Advanced Learner E-Dictionary) สรุปได้ว่าคำว่า Congratulation เป็น "the act"   of expressing joy or acknowledgement   คือการกระทำเพื่อแสดงความยินดี ส่วน Congratulation s ที่เป็นพหูพจน์ เป็น   the actual  "expressions" of pleasure,   approval or commendation   คือ การการพูดเพื่อแสดงความยินดี ที่มักจะใช้กันครับ และด้วยอีกเหตุผลหนึ...

ยกเลิก "เกรียน" เปลี่ยนเป็น "รองทรง"

รูปภาพ
              นับว่าเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวสำหรับการยกเลิกบังคับทรงผมเกรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ของไทย ซึ่งประกาศโดย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามกระแสไปต่างๆ นานา ทั้งเชิงลบและเชิงบวก  ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกที่มีคนคัดค้านกับการประกาศปรับปรุงกฏหมายของทรงผมนักเรียนเช่นนี้ ทั้งๆ ที่มันแทบจะไม่เป็นประเด็นของการศึกษาเลยด้วยซ้ำ มันเป็นประเด็นของสิทธิที่นักเรียนสามารถเลือกทรงผมได้ แต่ก็เป็นสิทธิที่ยังคงมีขอบเขตจำกัดอยู่เช่นกัน  ซึ่ง รมต.ศึกษาธิการได้กล่าว่า  " ถ้าตีความตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 นั้น นักเรียนชายจะต้องไว้ผมด้านข้างและด้านหลังเกรียน แต่กฎกระทรวง พ.ศ.2518 เปลี่ยนแปลงให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงได้ ไม่ต้องตัดผมด้านข้างหรือด้านหลังจนเกรียน แต่ในทางปฏิบัติ ร.ร.ยังคงยึดติดกับทรงผมเกรียนตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกฎกระทรวงฉบับใหม่เปิดโอกาสให้เด็กไว้ทรงยามแบบรองทรงได้"   ทีนี้เรามาดูกฏกระทรวงทั้ง 2 ฉบับที่ว่ากันดีกว่า (แบบย่อ)  ...

MODAL VERBS

รูปภาพ
Modal Verb     =   กลุ่มคำกริยาช่วยที่พิเศษ (special auxiliary verb)                          ที่มีความหมายในตัวของมันเอง (ขอเรียกสั้นๆ ว่า Modal แล้วกันนะครับ)        ปกติแล้วหน้าที่ของ กริยาช่วย  (Auxiliary) คือ สามารถทำให้เป็นประโยคปฏฺิเสธ หรือ คำถามได้ หรือทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ด้านไวยากรณ์ (เช่น have/has + V3 หรือ is/am/are + Ving เป็นต้น) แต่โดยทั่วไปแล้วจะ ไม่มีความหมายในตัวของมัน Modal นั้นทำหน้าที่คล้ายกับกับ Auxiliary แต่ว่าตัวของ modal นั้น มีความหมายทุกคำ แตกต่างกันไป ซึ่ง โครงสร้าง ก็ง่ายมากครับ [[[ MODAL + V infinitive ]]] ดังนั้นไม่ต้องใส่ใจเลยว่าประธาน (subject) ของประโยคจะเป็นเอกพจน์? พหูพจน์? ใส่   *V1เพียวๆ ลูกเดียวเลยครับ .. อิอิ ทีนี้เรามาดูกันก่อนซิครับว่าคำไหนบ้างที่เป็น modal verbs can      could      may      might       will      would ...

USED TO กับ GET USED TO

รูปภาพ
'SOMEBODY THAT I USED TO KNOW' คำว่า 'used to' เป็น modal verb ชนิดหนึ่ง ที่ตามด้วย Verb Infinitive (v1 เพียวๆ) เสมอ ความหมายของ 'used to' = เคย .. Somebody that I used to know = ใครซักคนที่ฉันเคยรู้จัก คราวนี้พูดถึงคำว่า 'get used to' บ้างนะครับ สำนวน 'get used to' ไม่ใช่ modal verb นะครับ แต่เป็น verb phrase (กริยาวลี) get used to มีความหมายว่า = 'เคยชิน' โดยมีรูปแบบคือ 'get used to + '(N หรือ Gerund)' ** โดยปกติ to + Verb infinitive เสมอ แต่กรณีนี้พิเศษครับเพราะตามด้วย Gerund จึงมักจะเห็นตามด้วย Ving ดูตัวอย่างประโยคจากคลิปได้เลยนะครับ :) บทความที่เกี่ยวข้อง Modal Verbs