บทความ

เขียนคำนำ อย่างไรให้ดูดี

รูปภาพ
        พอดีเข้าไปอ่านบทความในเว็บกระปุกดอทคอม ( www.kapook.com ) เห็นบทความในเรื่องของการเขียน "คำนำ" ก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมากๆ เพราะปัจจุบันคำนำที่นักเรียนเขียนๆ ส่งกันมามักจะมีรูปแบบเหมือนกัน(เป๊ะ) เปลี่ยนแค่ชื่อผู้จัดทำแค่นั้นเอง .. เฮ้อ /// ก็เลยขอ coppy เพื่อเป็นความรู้ให้กับนักเรียนที่เข้ามาอ่าน blog ของครูโจโจ้แล้วกัน เผื่อจะได้สร้าง"คำนำ"ที่สร้างสรรค์ด้วยความคิดของตัวเองโดยไม่ต้องลอกใคร .. โดยทางเว็บ Kapook ได้เขียนไว้บางส่วนดังนี้...      (ที่มา http://education.kapook.com/view31569.html )  สำหรับหลักการเขียนคำนำรายงานนั้น หลักง่าย ๆ เลยก็คือต้องเขียนให้ผู้อ่านสนใจอยากจะอ่านรายงานของเรา โดยเริ่มต้นอาจจะเขียนถึงที่มาที่ไปของรายงานฉบับนี้ จุดประสงค์และเหตุผลของการทำรายงานประเด็นนี้ หรือเรียกร้องถึงความสำคัญของประเด็นที่จะนำเสนอ บอกความเป็นมาคร่าว ๆ โดยอาจตั้งเป็นคำถามชวนให้ผู้อ่านคิด แล้วโยงเข้าสู่เรื่องที่เราอยากจะบอกก็ได้ ไม่ควรกว้าง หรือย้อนไปไกลมากจนเกินไป หรือวกวนจนจับประเด็นไม่ได้

วันเกิดนี้ กับโครงการบริจาคน้ำท่วม

รูปภาพ
เนื่องในวันคล้ายวันเกิดในปีนี้ของผม .. ผมขอขอบคุณทุกๆ คน ทุกๆ ท่าน ที่ post comment ใน  facebook   ของผมเพื่อแสดงความยินดีด้วยการ Happy Birth Day     และอวยพรในสิ่งดีๆ ให้กับผม ทั้งนี้ทั้งนั้นผมได้คิด project หนึ่งขึ้นมาโดยไม่บอกใครล่วงหน้า คือผมจะนำ จำนวนคนที่ HBD และอวยพรในวันเกิดของผมทั้งหมด x 10 บาท เพื่อที่จะนำจำนวนเงิน(ส่วนตัว)ไปร่วมบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ศูยน์บริจาคของจังหวัดเชียงใหม่ ชี้แจงจำนวนคนที่แสดงการ Happy Birth Day  (จำนวนคนที่โพสก่อนเที่ยงคืน) (และจำนวนคนที่โพสหลังเที่ยงคืน) จำนวนทั้งหมดจาก facebook คือ (253 +2) + (24 +2) = 281 คน รวมถึงผู้ที่ส่ง  message มาเบื้องหลัง อีก  2 คน กรุ๊ป ปกครองศึกษา   12 คน กรุ๊ป TK&FRIENDS   8 คน และ sms ผ่านมือถืออีก 3 คน 281 + 2 +12 + 8 + 3 + คุณแม่ = 300 คน 300 คน x 10 บาท = 3000 บาท (พอดีเป๊ะ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณทุกๆ คนที่สละเวลามาแสดงความยินดีในวันเกิดของผม ผมจึงคิดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให...

Lazy Eye(ตาขี้เกียจ) ผู้ใหญ่อาจรักษาได้

รูปภาพ
          หลายๆ คนอาจจะเพิ่งได้ยินโรค "ตาขี้เกียจ" .. ไม่ได้หมายว่าแก่มาแล้วจะเป็นคุณตาแล้วจะขี้เกียจนะคร้าบบ ..  มันหมายถึงดวงตาของเรานี่แหล่ะครับ ที่ผมเขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่าเมื่อช่วงก่อนที่โรงเรียนมีบริการตรวจสุขภาพประจำปี จากนั้นพอถึงคิวตรวจสายตา ก็ได้เรื่องเลยครับ ผมเป็นโรคตาขี้เกียจครับ เท่านั้นแหล่ะ หลังจากที่สั่งแว่นแล้วก็รีบกลับมาค้นคว้าหาข้อมูลว่าไอ่โรคชื่อตลกๆ แบบนี้เนี่ยมันมีจริงด้วยเหรอ มีจำนวนคนที่เป็นโรคนี้ไม่น้อยเลย และหลายคนเลยทีเดียวที่เป็นแบบไม่รู้ตัว เพราะว่าจริงๆ แล้วมันไม่ได้น่ากลัวอะไรมากหรอกครับ ก็สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่อาจจะรำคาญเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ทีนี้เรามารู้จักกับโรคตาขี้เกียจกันดีกว่าครับ ...                     โรคตาขี้เกียจ แปลมาจากภาษาอังกฤษก็คือ Lazy Eye หรือมีชื่อทางการแพทย์ว่า Amblyopia [แอมบลิโอเฟีย] คือภาวะการมองเห็นของตาข้างหนึ่งไม่ปกติ เช่นตาข้างขวาสามารถมองเห็นวัตุได้ชัดเจน แต...

หลุมพรางอุปสรรคก่อนสอบ ที่ต้องเอาชนะ!!

รูปภาพ
เมื่อพูดถึงอุปสรรค .. เราเปรียบได้เป็นดั่ง "มารผจญ " แต่เมื่อ "มารไม่มี .. บารมีไม่เกิด" หากเราเพียงมีสติและอดทน .. มารที่ไหนก็แพ้ภัยมลายสิ้น .. มารผจญต่าง ๆ มาทั้งที่รู้ตัวและอาจไม่รู้ตัว ต่อไปนี้คือสิ่งที่ทำให้หลายคนอาจจะต้องเสียเวลา และคว้าฝันไปไม่ถึงฝั่งได้ 1. รอพร้อม .. แล้วค่อยเริ่ม อันนี้ก็ขอเป็นประเด็นแรกเลย ที่หลายๆ คนจะสลัดความขี้เกียจแล้วเริ่มเปิดหนังสือหน้าแรกอ่านเสียที กว่าจะอ่านก็มักจะอ้างโน่นอ้างนี่ "วันนี้เหนื่อย .. พรุ่งนี้ค่อยอ่านแล้วกัน" หรือบางคนก็บอกว่า "เดี๋ยวจะอ่านซักตอน 2 ทุ่ม"..    พอถึงเวลาละครเข้า!! " เดี๋ยวก่อนดูจบแล้วค่อยอ่าน" .. อ่าววว พอถึงเวลาละครจบ "เฮ้อ .. ไม่ไหวละ หนักหัวเหลือเกินวันนี้ .. เดี๋ยววันพรุ่งนี้จะอ่านจริงๆ ละ" มีแต่คำว่า  "เดี๋ยวจะ" กับ "เดี๋ยวๆๆ"  อยู่นั่นแหล่ะ .. ไม่ได้ทำซักที ก็ผลัดวันไปเรื่อย .. แล้วเมื่อไหร่มันจะเริ่ม!! เปลี่ยนจากคำว่า "เดี๋ยวจะ" ให้เป็นคำว่า "ต้อง!!" จะได้ไหม??? "คืนนี้เวลา...

ข้อคิดดี ๆ การสอนภาษาอังกฤษ อย่างมีสุข

รูปภาพ
       บทความนี้ได้มาจากสมัยที่ผมเป็นนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2551 ผมได้มีโอกาสทำรายงานสัมภาษณ์ คุณครู มนเฑียร สุธรรมา อดีตข้าราชครู คศ.2 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่  ซึ่งได้รับรางวัลครูดีเด่นของเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2551 ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษได้อย่างมีอรรถรสและได้แนวคิดต่างๆ ซึ่งเป็นทิศทางที่ทำให้คุณครูรุ่นใหม่อย่างผมก็มักจะเปิดดูบันทึกตอนสัมภาษณ์คุณครูมนเฑียร เพื่อเป็นการ "เพิ่มกำลังใจจากแรงบันดาลใจ" เพราะท่านได้มอบเข็มทิศแนวทางในการสอนที่ถูกต้องที่สุด ผมจึงอยากจะนำบันทึกข้อสรุปที่ผมเคยได้สัมภาษณ์คุณครูมนเฑียร มาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ ครูไทยได้อ่านกัน โดยเฉพาะครูรุ่นใหม่และน้องๆ คุณครูฝึกสอนทั้งหลาย ที่คุณครูรุ่นใหญ่หลายคนได้ฝากความหวังกับการศึกษาไทยเอาไว้ เพื่อเป็นเข็มทิศแนวทางในการเป็นครู และเพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการดำเนินชีวิตแห่ง "การสอน" ไปตามครรลองคลองธรรมที่สมควร โดยได้แบ่งเป็น แนวคิดแบบครูมืออาชีพ, วิธีการสอน และ ทัศนคติที่ได้รับ ดังต่อไปนี้

พิชิต"โควตา มช" ด้วยแนวทางของครูโจโจ้

รูปภาพ
เริ่มนับเวลาถอยหลัง .. เหล่านักรบข้อสอบโควตาทั้งหลาย ... ก่อนที่พวกท่านจะเข้าสู่สนามรบ ... อย่ามัวแต่มองคู่แข่งเป็นศัตรู .... เพราะศัตรูที่แท้กลับอยู่ใกล้ตัวเราที่สุด ... ศัตรูที่ว่าไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ " ใจ " ของเรานั่นเอง ... .....อย่างแรกครูก็ต้องขอเกริ่นถึงความหลังในเยาว์วัยของตนเองก่อน ว่าความจริงแล้วสมัยคุณครูเป็นนักเรียนม.ปลายนั้น ก็เป็นคนที่เรียนไม่เก่งซักเท่าไหร่เล๊ย ..  พอเอาตัวรอดได้ ก็เป็นเด็กติดเกม!!  นี่นา ... ยังไม่พอแถมติดละครอีกต่างหาก .. ทุกวันตอนเย็นหลังกลับจากที่โรงเรียนก็ต้องพุ่งไปที่ทีวีทันที เปิดทีวี เปิดเครื่อง Play Staion II แล้วลงมือเล่นเกม จนแสบตา .. แทบทุกวัน ยิ่งเสาร์-อาทิตย์นิไม่ต้องพูดถึงเลยครับ .. ยากมากที่จะออกไปเที่ยวนอกบ้าน ผลการเรียนออกมาได้แค่ 2 นิดๆ ... แล้วเมื่อวันหนึ่ง .. ทุกๆ คนพูดถึงเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต่างคนต่างมีเป้าหมายของตนเองที่ตั้งไว้ กว่าคุณครูจะค้นพบเป้าหมายของตนเอง ก็ใช้เวลาพอสมควรเช่นกัน ... แต่ ... พอได้เป้าหมาย ก็มีความกดดันเกิดขึ้น.. เพราะเกรดเฉลี่ยที่มี มันมีแ...

Visakha Bucha Day

รูปภาพ
VISAKHA BUCHA Birth – Enlightenment- Passing away           Visakha Bucha Day is one of the most important days in Buddhism because of three important incidents in the life of The Buddha on the same day, the Vesak full moon day. So each year, Buddhists throughout the world gather together to perform the worship to recollect the wisdom, purity and compassion of the Buddha. The three significant separate events are The Buddha's birth at Lumbini Park   1.     The Buddha’s Birth ::    The Buddha was a king by birth, in Sakya Kingdom, eighty years before the Buddhist Era, at Lumbini Park (in an area of Nothern India know today as Nepal), on Friday, the Vesak full moon day. He was named Siddhattha five days after his birth. The Buddha's first teaching to The Panjavakkiya (The Group of Five Monks) after he attained the enlightenment.   2.     The Enlightenment of Buddha ...