If - Clause "ถ้าเขามา .. ฉันจะไป"
เรื่อง If - Clause หรือเรียกอีกอย่างคือ Conditional Sentence = ประโยคเงื่อนไง
ครูโจโจ้มักจะบอกนักเรียนนึกถึงประโยคนึงเสมอคือ "ถ้าเขามา ฉันจะไป"
คล้ายๆ กับเพลงของ ดา เอ็นโดฟิน
เพราะประโยคนี้แหล่ะ คือประโยคเงื่อนไข หรือเรื่อง If - Clause นั่นเอง
"ถ้าเขามา ฉันจะไป" มี 2 ประโยคด้วยกัน
"ถ้าเขามา" คือ If Clause เพราะ if = ถ้า (If he comes)
"ฉันจะไป" คือ Main Clause (I will go)
ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งของ If
- If aaaaaa, bbbbb = ขึ้นต้นด้วย If จะมี comma (,) คั่นกลาง
- If he comes, I will go.
- Bbbbbb if aaaaaa = ใช้ if ไว้ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมประโยค
- I will go if he comes.
การเขียนประโยคเงื่อนไขด้วย If
ในบางตำราจะเรียกเงื่อนไขเป็นตัวเลข เป็น 0, 1, 2, 3 แต่สำหรับครูโจโจ้แนะนำว่าให้เข้าใจความหมายของแต่ละลักษณะของเงื่อนไขจะเข้าใจได้มากกว่านะครับ ทั้งนี้การเขียน If clause นั้นก็ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้องเป็นแบบ 0, 1, 2, 3 เสมอไป ยังมีการเขียน If ที่เป็นแบบผสมหลากหลาย แต่ครูโจโจ้อยากให้เข้าใจเงื่อนไขพื้นฐาน 4 เงื่อนไขดังต่อไปนี้
- Fact
- คือเงื่อนไขของความจริง ไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำ ผลลัพธ์เป็นแบบนี้เสมอ ส่วนมากพบในเงื่อนไขของธรรมชาติ เงื่อนไขทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นการให้ข้อมูล/คำสั่ง เป็นต้น
- เรียกเป็น Zero Condition (0)
. - Future Possible
- คือเงื่อนไขที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หากว่าทำสิ่งนั้น ผลลัพธ์จึงจะเกิด แต่ถ้าไม่ทำตามเงื่อนไขนั้น ผลลัพธ์ก็ยังไม่เกิด
- เรียกเป็น Condition ที่ 1
. - Not Real
- คือเงื่อนไขที่ผู้พูดคิดว่าสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ เกินจริง เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน เงื่อนไขของจินตนาการ หรือ สมมติขึ้นมาเท่านั้น โดยใช้ Past ในการเขียน (ไม่เกี่ยวกับอดีต)
- เรียกเป็น Condition ที่ 2
. - Past Unreal
- คือเงื่อนไขที่ผู้พูดอยากย้อนเวลากลับไปทำหรือแก้ไขในอดีต ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย จึงสอดคล้องว่าเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ ต้องใช้ Past เขียน อีกทั้งยังเป็นเงื่อนไขในอดีตอีก จึงกลายเป็น Past ยกกำลังสอง จึงต้องเขียนด้วย Past Perfect
- เรียกเป็น Condition ที่ 3
ในแต่ละเงื่อนไขมีโครงสร้างการเขียนที่แตกต่างกัน
โดยครูโจโจ้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเงื่อนไขที่เป็นไปได้ และ เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้
แต่ขอย้ำว่า
โดยครูโจโจ้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเงื่อนไขที่เป็นไปได้ และ เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้
แต่ขอย้ำว่า
- V1 (present) ใช้กับเงื่อนไขที่เป็นไปได้
- V2 (past) ใช้กับเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (ไม่ได้หมายว่าเป็นเหตุการณ์ในอดีต)
- แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต จะกลายเป็น Past Perfect ในการเขียน
กลุ่มเงื่อนไขที่เป็นไปได้
ใช้ Present Tense ในการเขียนเป็นหลัก
ใช้ Present Tense ในการเขียนเป็นหลัก
- Fact เงื่อนไขความจริง เงื่อนไขทางธรรมชาติ/วิทยาศาสตร์ ข้อมูล/คำสั่ง
. - If you heat ice, it melts.
- ถ้าคุณเผาน้ำแข็ง มันจะละลาย
. - If he arrives, tell him to meet me at the office.
- ถ้าเขามาถึง บอกเขาให้ไปพบผมที่ออฟฟิส
. - โครงสร้างในการเขียนคือ
If + S + V1 , S + V1 - หรือพูดอีกอย่างคือ If + Present Simple , Present Simple
(สามารถศึกษาเรื่องโครงสร้างได้จากลิงค์นี้ คลิก)
. - Future Possible "ถ้าเขามา .. ฉันจะไป"
- If he comes, I will go.
- ถ้าเขามา ฉันจะไป (ถ้าเขายังไม่มา ฉันก็ยังไม่ไป โอเคนะ)
. - โครงสร้างในการเขียนคือ
If + S + V1 , S + will + V infinitive - หรือพูดอีกอย่างคือ If + Present Simple, Future Simple
- will สามาใช้ใช้ Modal verbs ตัวอื่นได้ เช่น shall, can, may, must ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการจะใช้
กลุ่มเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้
ใช้ Past Tense ในการเขียนเป็นหลัก
ใช้ Past Tense ในการเขียนเป็นหลัก
- Not real เงื่อนไขที่ผู้พูดคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้
. - If I were a bird, I would fly.
- ถ้าฉันเป็นนก ฉันจะบิน
. - If I were you, I would tell them all the truth.
- ถ้าฉันเป็นเธอ ฉันจะบอกความจริงให้พวกเขาทุกอย่าง
. - จากประโยคตัวอย่าง คนเราเป็นนกไม่ได้ และ ไม่สามารถเป็นคนอื่นได้
. - โครงสร้างในการเขียนคือ
If + S + V2, S + would + V infinitive - would เป็น V2 ของ will
- แต่กฏของ will/would จะต้องตามด้วย V infinitive เท่านั้น
- เช่นเดียวกัน สามารถใช้ should, could, might ได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการจะใช้
- พูดง่ายๆ ว่าถ้าประโยคข้างหน้าเป็น V2 ข้างหลังก็ต้องเป็น V2 เหมือนกัน
- จะเห็นได้ว่า ปกติแล้วเราใช้ I was แต่ในกรณีนี้ให้ใช้ I were (รวมถึงประธานอื่นๆ ด้วย เช่น He/She/It were) เพื่อแสดงให้เห็นว่าประโยคนี้คือเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ และการใช้ were นั้นถือว่าเป็นทางการกว่าการใช้ was ในเงื่อนไขลักษณะนี้
. - Past Unreal อยากย้อนเวลากลับไปแก้ไขในอดีต
. - If you had called me yesterday, I would have helped you.
- ถ้าเธอโทรหาฉันเมื่อวานนะ ฉันคงได้ช่วยเหลือเธอแล้ว
- (แต่ความจริงไม่ได้ช่วย เพราะไม่ได้โทรไปหา)
. - If I had studied those books, I would have got A.
- ถ้าฉันอ่านหนังสือเหล่านั้น ฉันคงได้เอไปแล้ว
- (แต่ความจริงไม่ได้อ่านและไม่ได้ A)
. - โครงสร้างในการเขียนคือ
If + S + had + V3, S + would + have + V3 - S + had + V3 = Past Perfect Tense
- วิธีสังเกตคือ ถ้าข้างหน้าเป็น Perfect (คือ Have + V3) ข้างหลังก็จะเป็น Perfect เช่นเดียวกัน
นี่คือโครงสร้างและการใช้หลักๆ ของ If Clause ครับ แต่อย่างที่บอกไปข้างต้นว่ามันไม่ได้มีแค่ 4 โครงสร้าง แท้จริงแล้วมันสามารถผสมผสาน (combination) Tense นอกเหนือจากนี้ได้ หรือเรียกว่า Mixed Conditional Sentences ซึ่งไว้จะกล่าวในบทความต่อไปครับ
ครูโจโจ้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น