MODAL VERBS

Modal Verb  =  กลุ่มคำกริยาช่วยที่พิเศษ (special auxiliary verb) 
                        ที่มีความหมายในตัวของมันเอง
(ขอเรียกสั้นๆ ว่า Modal แล้วกันนะครับ)

       ปกติแล้วหน้าที่ของกริยาช่วย (Auxiliary) คือ สามารถทำให้เป็นประโยคปฏฺิเสธ หรือ คำถามได้ หรือทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ด้านไวยากรณ์ (เช่น have/has + V3 หรือ is/am/are + Ving เป็นต้น) แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีความหมายในตัวของมัน

Modal นั้นทำหน้าที่คล้ายกับกับ Auxiliary
แต่ว่าตัวของ modal นั้นมีความหมายทุกคำ แตกต่างกันไป

ซึ่งโครงสร้างก็ง่ายมากครับ [[[ MODAL + V infinitive ]]]
ดังนั้นไม่ต้องใส่ใจเลยว่าประธาน (subject) ของประโยคจะเป็นเอกพจน์? พหูพจน์?
ใส่  *V1เพียวๆ ลูกเดียวเลยครับ .. อิอิ

ทีนี้เรามาดูกันก่อนซิครับว่าคำไหนบ้างที่เป็น modal verbs


can      could      may      might      
will      would      shall        should       must 


โดยกฏกติกาการใช้ modal มีอยู่เล็กน้อยนะครับ ดังนี้
  1. อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Modal + V infinitive ... ขอเรียกง่ายๆ ว่า "V1เพียว" 
    นั่นก็คือ verb ที่ตามหลัง modal นั้นไม่ต้องปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น
    ไม่มี -s หรือ -ing หรือ -ed ใดๆ ทั้งสิ้นครับ (ไม่มี to ด้วยนะครับ)
    • Timmy can speak English very well ( ไม่ใช่ Timmy can speaks ...)
  2. Modal นั้นเราไม่สนว่าประธานจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์
    เพราะตัว modal นั้นจะไม่มีการเติม -s ใดๆ เช่นกัน
    • Barbara must finish her homework tonight. (ไม่ใช่ Barbara musts finish ..)
  3. ตัว modal นั้นยังคงทำหน้าที่กริยาช่วยที่ดี ดังนั้นหากจะแต่งประโยคปฏิเสธหรือคำถาม
    ก็ใช้ modal ได้เลย ไม่ต้องใช้ Verb to Do เข้ามาช่วย
    • Will you marry me? -- I will not marry you.
      (ไม่ใช่ Do you will .. หรือ I do not will ...)

ทีนี้เรามาดูความหมายของ modal บ้าง
ซึ่งแต่ละคำก็จะมีความหมายที่ใช้แตกต่างกัน จึงขอแปลง่ายๆ ดังนี้

(โดยมีรูปเป็น V1 และ V2

  • can, could             = สามารถ 
  • may, might         = น่าจะ, อาจจะ (ใช้แสดงความไม่แน่ใจ)
  • will, would          = จะ
  • shall, should     = จะ (ใช้กับ I และ We .. แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ will แทน) 
  • must                          = ต้อง ... (ไม่มี v2 ... ใช้ในประโยคคำสั่ง) 
  • *needn't             = ไม่ต้อง... (อยู่ในรูปปฏิเสธเท่านั้น ที่เป็น modal) 
(ซึ่งจริงๆ แล้ว modal verb ที่อยู่ในรูปของ V2 ไม่ได้เป็นเรื่องของ Tense เพียงอย่างเดียว 
แต่ยังมีสำนวนการใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอธิบายในต่อไป)

       นอกจากนั้นยังมีคำที่ไม่ใช่ modal verb ซะทีเดียว แต่บังเอิญว่ามีความหมายในการใช้เหมือนกัน ดังนั้นตำราหลายเล่มจึงเหมารวมว่าเป็น modal verb ไปด้วยซะเลย แต่กฏกติกาที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นกลับใช้กับคำเหล่านี้แทบไม่ได้เลย แต่มีสิ่งเดียวกันที่เหมือนก็คือ Verb ที่ตามหลังคำเหล่านี้จะต้องเป็น V1เพียว เหมือนกัน โดยมีดังนี้ครับ (to มักจะตามด้วย V1เพียว) 

Post นี้พูดถึงความหมายของ modal อย่างคร่าวๆ และการใช้ที่แตกต่างจาก auxiliary verb
ไว้โอกาสหน้าจะ post ต่อไปในเรื่องของการใช้ modal ในสำนวนการสนทนาต่างๆ 
ซึ่งแต่ละคำยิ่งจะมีความหมายที่แตกต่างชัดเจน เช่น would, should และ could เป็นต้น
โปรดติดตามกันในโพสต่อไปด้วยนะครับ :) 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Sport Day หรือ Sports Day?

เด็กปีหนึ่งใช้ "Freshman" หรือ "Freshmen" ???

Organizing : Topic, Supporting และ Concluding Sentences